ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิวัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนแปลงหลักมูลในโครงสร้างอำนาจหรือการจัดระเบียบซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาค่อนข้างสั้น

ปฏิวัติเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์และแปรผันหลากหลายในแง่วิธีการ ระยะเวลาและอุดมการณ์จูงใจ ผลแห่งปฏิวัติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสถาบันวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม-การเมืองครั้งใหญ่

มีการถกเถียงในเชิงวิชาการว่าสิ่งใดประกอบหรือไม่ประกอบเป็นปฏิวัติโดยมุ่งไปยังหลายประเด็น การศึกษาปฏิวัติยุคแรกวิเคราะห์เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุโรปจากมุมมองทางจิตวิทยาเป็นหลัก แต่การตรวจสอบในภายหลังรวมถึงเหตุการณ์โลกและรวมมุมมองจากสังคมศาสตร์หลายแขนง รวมทั้ง สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ ความคิดเชิงวิชาการว่าด้วยปฏิวัติหลายรุ่นได้สร้างทฤษฎีที่ขัดแย้งกันจำนวนมากและช่วยให้มีความเข้าใจปรากฏการณ์อันซับซ้อนนี้ในปัจจุบันมากขึ้น

นิยาม

[แก้]

คำว่าปฏิวัติในภาษาอังกฤษ (revolution) มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ revolutio และ revolvere แปลว่า หมุนกลับ (to turn around) คำนี้มีใช้ทั่วไปในทางสังคมศาสตร์ แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน เช่น การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น[1]

สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า ปฏิวัติทางการเมืองคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally)[2] สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และการเมือง คือการกระทำความรุนแรงต่อโครงสร้าง ระบบ สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง ปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่าง ๆ ที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น[3]

อาริสโตเติลอธิบายการปฏิวัติทางการเมืองไว้สองประเภท ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเป็นอีกฉบับหนึ่งโดยสมบูรณ์
  2. การดัดแปรรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิม[4]

โดยสรุป ปฏิวัติมีความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบ (regime) ในทางสังคมการเมืองอาทิ วัฒนธรรมทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น ปฏิวัติจึงไม่ต่างจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการเมือง (political paradigm) ซึ่งเกิดได้ยากกว่ารัฐประหาร ซึ่งเพียงการเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมือง (political system) อาทิ ประมุขแห่งรัฐหรือผู้นำรัฐบาลเท่านั้น[5]

อนึ่งปฏิวัติทางการเมืองเป็นมโนทัศน์ที่สำคัญในการอธิบายปฏิวัติสังคมในลัทธิทรอทสกี (Trotskyism)

ตัวอย่างของการปฏิวัติทางการเมืองในประวัติศาสตร์ทางการเมืองโลก[6]

[แก้]
  • คำว่าปฏิวัติถูกใช้ครั้งแรกในอังกฤษ ค.ศ. 1688 - 89 เพื่ออธิบายการที่กษัตริย์เจมส์ที่ 2 ถูกยึดอำนาจ ศัพท์ในทางสังคมศาสตร์เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) การปฏิวัติครั้งนี้ทำให้อำนาจสมบูรณ์ของกษัตริย์อังกฤษถูกถ่ายโอนมาสู่สภา
  • ในศตวรรที่ 18 ในประเทศอเมริกาเกิดการปฏิวัติอเมริกา (The American Revolution) ซึ่งเป็นการปฏิวัติประเทศอเมริกาให้ปกครองตนเองและแยกออกจากการปกครองของอังกฤษ
  • ใน ค.ศ. 1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (The French Revolution) เมื่อปัญญาชน และประชาชนนำโดยโรแบร์สปิแอร์ (Maximilien de Robespierre) ปฏิวัติการปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 (Louise XVI) การปฏิวัติครั้งนี้มักถูกยกย่องว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งแรก รวมถึงเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของโลกสมัยใหม่ด้วย
  • ในศตวรรษที่ 20 การแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) ทำให้ประเทศจำนวนมากเกิดการปฏิวัติการปกครองโดยประชาชน (People Revolution) ขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์

สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ส่วนการล้มล้างรัฐบาลในครั้งต่อมานั้นเป็นเพียงการรัฐประหาร เพราะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ผู้นำของรัฐบาล หรือเป็นการยืดอายุของรัฐบาลอุปถัมป์อำนาจนิยม (Suzerain-Authoritarianism) ของสังคมไทยเพียงเท่านั้น[7]

แต่ในความเห็นอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) อันเป็นการปฏิวัติ แต่ก็เป็นการรัฐประหาร (coup d'état) ด้วย เพราะใช้กำลังทหาร ควบคุม บังคับ ทำให้อำนาจรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลง(สำหรับฝ่ายที่ต่อต้านการปฏิวัติ) แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์ พยายามสร้างภาพให้เป็นเชิงบวก ว่าเป็นการปฏิวัติ หรืออภิวัฒน์ จนเรียกว่า สยามภิวัฒน์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited byเก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. revolution noun
  3. revolution, in social and political science, a major, sudden, and hence typically violent alteration
  4. "accessed 2013/4/24 Aristotle, The Politics V,". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-02. สืบค้นเมื่อ 2014-05-28.
  5. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
  6. Richard Pipes, "A Concise History of the Russian Revolution," Cited byเก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (มธ 120) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
  翻译: