ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลหูหนาน

พิกัด: 28°06′46″N 112°59′00″E / 28.11265°N 112.98338°E / 28.11265; 112.98338
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลหูหนาน

湖南省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีนหูหนานเฉิ่ง (湖南省 Húnán Shěng)
 • อักษรย่อHN / เซียง ( Xiāng)
(ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน)
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลหูหนาน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลหูหนาน
พิกัด: 28°06′46″N 112°59′00″E / 28.11265°N 112.98338°E / 28.11265; 112.98338
ตั้งชื่อจาก,  – ทะเลสาบ
, nán – ทิศใต้
"ทิศใต้ของทะเลสาบ" (ทะเลสาบต้งถิง)
เมืองหลวง
(และเมืองประชากรมากสุด)
ฉางชา
จำนวนเขตการปกครอง14 จังหวัด, 122 อำเภอ, 1,933 ตำบล (ค.ศ. 2018), 29,224 หมู่บ้าน (ค.ศ. 2018)
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคตู้ เจียหาว (杜家毫)
 • ผู้ว่าการสฺวี่ ต๋าเจ๋อ (许达哲)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด210,000 ตร.กม. (80,000 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 10
ความสูงจุดสูงสุด2,115.2 เมตร (6,939.6 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2014)[2]
 • ทั้งหมด67,370,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 7
 • ความหนาแน่น320 คน/ตร.กม. (830 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 13
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 90%
ถู่เจีย – 4%
ม้ง – 3%
ต้ง – 1%
เย้า – 1%
อื่น ๆ – 1%
 • ภาษาและภาษาถิ่นกลุ่มภาษาจีน:
ภาษาเซียง, ภาษาจีนกั้น, ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้, Xiangnan Tuhua, Waxiang, ภาษาฮักกา
ไม่ใช่กลุ่มภาษาจีน:
Xong, ภาษาถู่เจีย, Mien, ภาษาต้ง
รหัส ISO 3166CN-HN
GDP (ค.ศ. 2018)[3]3.64 ล้านล้านเหรินหมินปี้
549.00 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (อันดับที่ 9)
 • ต่อหัว57,540 เหรินหมินปี้
8,341 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 16)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.751[4]
สูง · อันดับที่ 15
เว็บไซต์www.enghunan.gov.cn
มณฑลหูหนาน
"Hunan" in Chinese characters
ภาษาจีน湖南
Xiangɣu˩˧ nia˩˧ (fu-lã)
ความหมายตามตัวอักษร"South of the (Dongting) Lake"

หูหนาน (จีน: 湖南) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในภาคกลาง-ใต้ของประเทศ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำแม่น้ำแยงซี มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลหูเป่ย์ทางทิศเหนือ มณฑลเจียงซีทางทิศตะวันออก มณฑลกวางตุ้งและเขตปกครองตนเองกวางซีทางทิศใต้ มณฑลกุ้ยโจวทางทิศตะวันตก และฉงชิ่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ ฉางชา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซียง ประชากรในมณฑลของปี ค.ศ. 2014 มีจำนวนกว่า 67 ล้านคน และมีพื้นที่ประมาณ 210,000 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 7 และมีพื้นที่มากเป็นอันดับ 10 ของประเทศจีน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของมณฑลในปี ค.ศ. 2018 มีมูลค่ามากกว่า 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยการปกครองที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด 30 อันดับแรกของโลก

คำว่า หูหนาน เมื่อแปลตรงตัวหมายถึง "ทิศใต้ของทะเลสาบ"[5] ซึ่งก็คือทะเลสาบต้งถิง ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล ชื่อย่อของมณฑลคือ "เซียง" (จีน: Xiāng) ตั้งตามชื่อของแม่น้ำเซียง ซึ่งไหลจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือผ่านมณฑลหูหนาน นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางไหลน้ำที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล

พื้นที่ของมณฑลหูหนานเริ่มอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเมื่อประมาณ 350 ปีก่อนคริสตกาล โดยตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉู่ มณฑลหูหนานเป็นบ้านเกิดของนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อตง[6] ผู้ซึ่งเป็นบิดาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน มณฑลหูหนานในปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม เช่น ถู่เจีย และม้ง ส่วนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่คือ ชาวฮั่น ภาษาที่ใช้พูดกันในมณฑล เช่น ภาษาเซียง ภาษาจีนกั้น และภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้

มณฑลหูหนานตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี สถานที่ที่น่าสนใจในมณฑล เช่น อู่หลิงยฺเหวียน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกเมื่อปี ค.ศ. 1992[7] เมืองหลวงของมณฑล ฉางชา ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมณฑล ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางที่สำคัญทั้งด้านการค้า การผลิต และการขนส่ง[8]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

มณฑลหูหนานตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเนื้อที่ 211,800 ตารางกิโลเมตร

มณฑลหูหนานมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

มณฑลหูหนานมีเทือกเขาโอบล้อมถึง 3 ด้าน ด้านตะวันออกมีเทือกเขามู่ฟู่และเทือกเขาหลัวเซียว ด้านใต้มีแนวเขาอู๋หลิ่งซัน ด้านตะวันตกมีเทือกเขาอู่หลิงและเทือกเขาเสี่ยว์เฟิง ยอดเขาทางตะวันตกของมณฑลส่วนใหญ่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร

มณฑลหูหนานมีสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนภาคพื้นทวีปเอเซียกลาง ได้รับอิทธิพลของลมตะวันออก อุณหภูมิเฉลี่ย/ปี 16–18 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200–1,700 มิลลิเมตร/ปี สภาพอากาศมี 3 ลักษณะเด่น คือ สภาพอากาศแบบสมดุล มีแสงแดด และแหล่งน้ำเพียงพอ อากาศอบอุ่น

ประชากร

[แก้]

มีประชากร 67,370,000 คน ความหนาแน่น 320 คน/ตารางกิโลเมตร จีดีพี 3.64 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (57,540 เหรินหมินปี้/หัว) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่ # จังหวัด อักษรจีน พินอิน ศูนย์กลางการปกครอง จำนวนประชากร
นครระดับจังหวัด
1 ฉางชา 长沙市 Chángshā Shì เย่ว์ลู่ 7,044,118
2 ฉางเต๋อ 常德市 Chángdé Shì อู่หลิง 5,747,218
3 เฉินโจว 郴州市 Chénzhōu Shì ไป่หู 4,581,778
4 เหิงหยาง 衡阳市 Héngyáng Shì เยี่ยนเฟิง 7,141,462
5 หวายหว่า 怀化市 Huáihuà Shì เหอเฉิง 4,741,948
6 เหลาตี้ 娄底市 Lóudǐ Shì เหลาซิ่ง 3,785,627
7 เฉาหยาง 邵阳市 Shàoyáng Shì ช่วงฉิง 7,071,826
8 เซี่ยงถาน 湘潭市 Xiāngtán Shì เย่ว์ถัง 2,748,552
9 อี้หยาง 益阳市 Yìyáng Shì เหอชาน 4,313,084
10 หยงโจว 永州市 Yǒngzhōu Shì เหลิงฉุ่ยถาน 5,180,235
11 เย่ว์หยาง 岳阳市 Yuèyáng Shì เย่ว์หยางเหลา 5,477,911
12 จางเจียเจี้ย 张家界市 Zhāngjiājiè Shì หยงติ้ง 1,476,521
13 จูโจว 株洲市 Zhūzhōu Shì เทียนหยวน 3,855,609
จังหวัดปกครองตนเอง
14 เขตปกครองตนเองชนชาติถูเจี้ยและม้ง ซ่างซี 湘西土家族苗族自治州 Xiāngxī Tǔjiāzú Miáozú Zìzhìzhōu ฉีโฉ่ว 2,547,833

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry Of Commerce – People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2013.
  2. "National Data: Annual by Province". National Bureau of Statistics of China. 29 เมษายน 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2013.
  3. 3.0 3.1 "Hunan Gov't 2019 Work Report Highlights at a Glance". hunan.gov.cn.
  4. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2020.
  5. "Origin of the Names of China's Provinces". People's Daily Online (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2016.
  6. Schram, Stuart Reynolds (1967). Mao Tse-tung. Harmondsworth: Penguin. ISBN 0-14-020840-2. OCLC 7874661.
  7. Centre, UNESCO World Heritage. "Wulingyuan Scenic and Historic Interest Area". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2019.
  8. Planet, Lonely. "Changsha travel | Hunan, China". Lonely Planet (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  翻译: